เป็นช่างที่ทำหน้าที่ตรวจเช็คระบบลิฟต์ บริษัทได้จัดทำมาตรฐานการตรวจเช็คโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน ANSI (American National Standard Institute) และ JIS (Japanese International Standard) เพื่อให้การตรวจเช็ค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่าง Maintenance จะมีความรู้ด้านการปรับแต่ง Adjust ระบบต่างๆ ของลิฟต์เพื่อให้ลิฟต์ทำงานได้ดี ลดปัญหาการเสีย และเป็นผู้แจ้งเตือนอุปกรณ์ภายในระบบที่ถึงคราว
การเข้าตรวจเช็คสภาพลิฟต์ จัดแบ่งการทำงานได้ดังนี้
ด้วยเหตุที่อุปกรณ์ภายในระบบลิฟต์มีจำนวนมากดังนั้นการตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ถึงแบ่งเป็น การตรวจเช็คตามระยะเวลาการใช้งาน เช่นมีการตรวจเช็คทำความสะอาดและปรับแต่งทุก 1 เดือน ตรวจเช็คอุปกรณ์ภายในระบบทุก 3 เดือน ตรวจเช็คจุดยึดต่างๆ ของโครงสร้างทุก 6 เดือน เป็นต้น โดยการตรวจเช็คระบบลิฟต์ บริษัทได้เน้นตรวจเช็คและการแจ้งเตือนเพื่อทำการแก้ไข หรือเปลี่ยนอะไหล่ ก่อนปัญหาจะเกิดหรือก่อนลิฟต์จะเสีย (Preventive Maintenance)
การตรวจเช็คจะแยกระบบลิฟต์เป็นส่วนเพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบดังนี้
- ระบบภายในห้องเครื่อง
- อุปกรณ์ภายในบ่อลิฟต์
- อุปกรณ์ตู้โดยสาร
- อุปกรณ์หน้าชั้นชานพัก
- อุปกรณ์ที่บ่อลิฟต์
แบบฟอร์มรายงานการตรวจเช็คระบบลิฟต์ Preventive Maintenance Report (PMR.)
แบบฟอร์มรายงานการตรวจเช็คระบบลิฟต์ ช่าง Maintenance จะเป็นผู้เขียนรายละเอียดการตรวจเช็ค พร้อมมีหมายเหตุกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติของอุปกรณ์หรือระบบลิฟต์ เพื่อเสนอทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนอะไหล่ต่อไป เอกสารนี้จะมีการลงชื่อช่างผู้เข้าตรวจเช็ค วันเวลาการเข้าเช็ค และมีเซ็นตรวจรับงานจากผู้รับผิดชอบดูแลงานอาคาร โดยจะมีสำเนาให้ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐานการตรวจเช็ค 1 ชุด
ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานการตรวจเช็คระบบลิฟต์
Preventive Maintenance Report (PMR.)
การตรวจเช็คเป็นไปตามมาตรฐาน ANSI. , JIS. |